Skip to main content
Home

CH Main menu

  • สาระน่ารู้สำหรับพ่อแม่
    • เตรียมตัวเป็นพ่อแม่มือใหม่
      • คู่มือสำหรับพ่อแม่มือใหม่
      • เตรียมพร้อมรับลูกน้อย
      • การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน
    • กิจกรรมยามเช้า
      • กิจกรรมยามเช้าสำหรับพ่อแม่
      • กระเป๋าสัมภาระคุณแม่
      • ของขวัญเด็กแรกเกิด
    • กล่อมลูกนอน
      • กิจวัตรก่อนนอน
      • วิธีกล่อมลูกนอน
      • สาเหตุของผื่นผ้าอ้อม
      • ผื่นผ้าอ้อมกับเรื่องน่ารู้
    • การดูแลเด็กทารก
      • อาการฟันงอกและวิธีธรรมชาติที่คุณสามารถช่วยเหลือลูกน้อยของคุณได้
      • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผื่นผิวหนังอักเสบ
  • ผิวลูกน้อย
    • ผิวลูกน้อย
      • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผื่นผ้าอ้อม
      • ผื่นผ้าอ้อม
      • ผื่นผิวหนังอักเสบในทารกและเด็กวัยหัดเดิน
      • ฟันงอกเป็นสาเหตุของการเกิดผื่นผ้าอ้อมหรือไม่
      • ดูแลอย่างไรเมื่อลูกเกิดอาการคันจนเกิดอาการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
      • ผดผื่น คัน แสบ แดงในเด็ก ดูแลได้ด้วยครีมทาผดผื่นเด็ก
  • สุขภาพผิวคุณ
    • สุขภาพผิวคุณ
      • ผิวบอบบางคืออะไร ต้องเลือกใช้ครีมมอยซ์เจอร์ไรเซอร์แบบไหน
      • เปิดวิธีดูแลหลังสัก รักษาอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงติดเชื้อ
      • ป้องกันผื่นผ้าอ้อมในผู้ใหญ่ ต้องป้องกันและรักษาอย่างไร?
      • เลือกมอยส์เจอไรเซอร์อย่างไร: สำหรับผิวทุกชนิดและผิวบอบบาง
      • แผลน้ำร้อนลวกต้องปฐมพยาบาลให้ถูกต้อง และการใช้ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก
  • ผลิตภัณฑ์บีแพนเธน
    • สำหรับลูกน้อยของคุณ
      • บีแพนเธน ออยเมนต์
      • บีแพนเธน เซนซิเดิร์ม ครีม
      • บีแพนเธน เฟิร์สเอด
      • บีแพนเธน เซนซิ คอนโทรล วอช
      • บีแพนเธน เดลี่ คอนโทรล
    • ความเป็นมาของบีแพนเธน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • Buy Now
Bayer Cross Logo
  1. Home
  2. ผิวลูกน้อย
  3. ดูแลอย่างไรเมื่อลูกเกิดอาการคันจนเกิดอาการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

ดูแลอย่างไรเมื่อลูกเกิดอาการคันจนเกิดอาการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเคยต้องพบเจอกับความกังวลใจ เมื่อลูกน้อยเกิด ‘ผื่นแพ้’ จนต้องใช้ครีมบรรเทาอาการคันและแดงบรรเทาอาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่พบบ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากผิวที่ยังคงความบอบบางทำให้เกิดผื่นที่ก่ออาการแสบและคันได้ แต่อย่าเพิ่งคิดไปว่าผื่นคันเหล่านี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นปกติ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ดูแลหรือไม่ใช้ครีมบรรเทาอาการคันและแดงเพื่อลดอาการที่เกิดขึ้น ก็อาจทำให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังได้ เราจึงมีข้อควรรู้สำหรับโรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็กมาให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่เฝ้าระวัง เผื่อลูกน้อยเกิดมีอาการเหล่านี้มาบอกกัน

ใช้ครีมทาผื่นอักเสบแก้ผื่นคัน


ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังคืออะไร?

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างผิวหนัง ทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำจนแห้งและเกิดการอักเสบได้ง่าย หรืออาจเกิดขึ้นในรายที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติการเป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นในเด็กแต่ละช่วงอายุจะแตกต่างกันออกไป หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีมักพบบริเวณแก้ม หน้าผาก คอ แขนและขาด้านนอก ข้อมือและข้อเท้า ส่วนเด็กโตหรือแม้แต่ในผู้ใหญ่มักพบที่บริเวณข้อพับ แขน ขา เท้า ข้อเท้า

อาการที่สำคัญของโรคนี้คือ ความคันที่เกิดขึ้นตามบริเวณผิวหนัง และอาการอักเสบแดงที่เกิดจากการเกา ต้องใช้ครีมบรรเทาอาการคันและแดง โดยมีอาการที่ควรสังเกตคือ การเกิดผื่นแดงคันโดยเฉพาะตำแหน่งที่มีเหงื่อออกง่ายเช่น ข้อพับแขนขา แก้ม หน้าผาก คอ ซึ่งหากแกะเกาบ่อย ๆ ก็อาจจะมีการติดเชื้อ

การดูแลเมื่อเกิดอาการ

1. การดูแลผิวเบื้องต้น

เริ่มจากการดูแลผิวแบบพื้นฐาน ที่ควรปฏิบัติเป็นประจำเพื่อช่วยลดการกำเริบของผื่น ดังนี้

  • ให้ลูกน้อยอาบน้ำในอุณหภูมิปกติ ไม่เย็นหรือร้อนเกินไป วันละ 1-2 ครั้ง โดยใช้เวลาไม่เกิน 5-15 นาที เนื่องจากหากมากกว่านี้อาจทำให้ผิวอับชื้นได้
  • ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่ทุกครั้งในการอาบน้ำ อาจให้เด็กลดการใช้สบู่ในตอนเช้า เนื่องจากได้ชำระล้างร่างกายในตอนเย็นวานไปแล้ว
  • หลังอาบน้ำต้องซับตัวให้หมาด อย่าปล่อยให้ผิวเปียกชื้น
  • ทาครีมหรือโลชั่นหลังอาบน้ำ และสามารถใช้ครีมบรรเทาอาการคันและแดงระหว่างวันได้หากสังเกตถึงอาการคันของลูกน้อย
  • หลีกเลี่ยงสารก่อความระคายเคืองแก่ผิว เช่น เหงื่อ น้ำลาย สารเคมี น้ำหอม แอลกอฮอล์ รวมถึงการใส่เสื้อผ้าที่แข็งกระด้างบาดผิว
  • พันด้วยผ้าชุบน้ำเกลือเพื่อช่วยทุเลาเมื่อมีอาการ
ครีมทาผื่นอักเสบช่วยดูแลผิวแห้งและคัน


2. ใช้ยาทาเพื่อบรรเทาการอักเสบ

ใช้ยาทาเพื่อลดการอักเสบตามที่แพทย์สั่ง โดยแพทย์จะเลือกชนิดของยาให้เหมาะสมกับลักษณะ ตำแหน่งและความรุนแรงของผื่น โดยประเมินไปพร้อมกับช่วงวัยของเด็ก เช่น หากมีการอักเสบของผิวหนังแบบเฉียบพลันร่วมกับน้ำเหลือง แพทย์จะใช้น้ำเกลือประคบแผลไว้ 

ถ้าเป็นผื่นที่เกิดมานานแล้ว แพทย์อาจเริ่มทำการรักษาโดยใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทา ซึ่งเป็นยาเฉพาะที่ไม่ควรซื้อมาทาเอง ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงในการใช้กับเด็กได้ เช่น ผิวหนังส่วนที่ทายาบางลงจนเกิดแผลแตก และติดเชื้อได้ง่าย รวมถึงร่างกายอาจจะดูดซึมยาเข้าไปจนก่อให้เกิดการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะของต่อมหมวกไต

อย่างไรก็ตาม หากอาการเป็นไม่มากและต้องการยาทาบรรเทาเบื้องต้นก่อน ก็สามารถใช้ครีมบรรเทาอาการคันและแดงที่ออกฤทธิ์ช่วยดูแลผิวแห้งและผิวคันได้ ในกรณีที่มีการติดเชื้อทางผิวหนังร่วมกับผื่นผิวหนังอักเสบ อาจมีการใช้ยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย

3. ทานยาเพื่อลดอาการคัน

ในขั้นตอนนี้ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ โดยผู้ป่วยห้ามซื้อยามาทานเอง เนื่องจากหากใช้ยาไม่ถูกกับโรคอาจส่งผลให้อาการแย่ลงได้

ทั้งหมดนี้คือการดูแลที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจและปรับพฤติกรรมให้ลูกน้อยทำในทุกวัน หรือแม้แต่ในผู้ใหญ่ที่มีอาการก็ด้วยเช่นกัน เพราะหากผื่นแพ้ผิวหนังปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาก็อาจทำให้ผิวหนังอักเสบแดง เป็นแผล และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียและมีเชื้อราแทรกซ้อนได้  สิ่งสำคัญคือการหมั่นทาครีมหรือโลชั่นเพิ่มความชุ่มชื้นเป็นประจำ รวมถึงการใช้ครีมทาผื่นอักเสบร่วมด้วย ซึ่งควรเลือกเป็นสูตรเฉพาะที่มีส่วนประกอบอ่อนโยนต่อผิวเด็ก เช่น เซราไมด์ พรีไบโอติกส์ เป็นต้น

ป้องกันตั้งแต่แรก ด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้น!

ถึงแม้ว่าโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่มีปัจจัยภายในที่สำคัญ คือการเสียสมดุลของการสร้างไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้ร่างกายขาดสารที่ทำให้ผิวชุ่มชื้น จนผิวหนังเสียสมดุลในการกักเก็บน้ำ ดังนั้น การดูแลให้ผิวชุ่มชื้นอยู่เสมอตั้งแต่แรก จึงถือเป็นอีกวิธีที่ป้องกันการเกิดผื่นแพ้ผิวหนังได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถให้ความชุ่มชื้นได้จะช่วยส่งเสริมเกราะป้องกันผิวไม่ให้ถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมได้ง่าย จึงช่วยดูแลผิวได้ในระยะยาว

อีกสิ่งที่สำคัญ คือการเฝ้าสังเกตอาการ หากพบอาการต้องสงสัย ให้บรรเทาอาการคันและผื่นแดงด้วยครีมบรรเทาอาการคันและแดง โดยควรเลือกเป็นครีมที่เสริมความชุ่มชื้นได้ด้วยสูตรที่ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคือง ปราศจากสเตียรอยด์ น้ำหอม สารกันเสีย เพื่อปกป้องผิวบอบบางของลูกน้อยและตัวคุณด้วย หากเป็นผื่นเรื้อรังไม่หาย ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาทันที

 

ข้อมูลอ้างอิง :

  1. ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก อย่ารอจนเรื้อรัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 จาก https://www.bangkokhospital.com/content/atopic-dermatitis-in-children 
  2. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ผื่น-ภูมิแพ้ผิวหนัง
  3. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 จาก https://www.sikarin.com/doctor-articles/โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังใ
  4. ผิวแพ้ง่ายและผื่นแพ้ผิวหนังกับการดูแล. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/412/ผิวแพ้ง่าย-ผื่นแพ้ผิวหนัง/
Image

บทความที่คล้ายกัน

ผื่นผ้าอ้อมมีผลต่อลูกน้อยของคุณอย่างไร

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผื่นผ้าอ้อม

ผิวเด็กทารกบอบบางและแพ้ง่ายกว่าผิวของผู้ใหญ่จึงทำให้ผื่นผ้าอ้อมเกิดขึ้นได้บ่อยมาก มารู้จัก "ผื่นผ้าอ้อม" เพื่อหาทางดูแลที่ถูกต้อง หากลูกน้อยเป็นผื่นผ้าอ้อม

อ่านเพิ่มเติม
ผื่นผิวหนังอักเสบในทารกและเด็กวัยหัดเดิน

ผื่นผิวหนังอักเสบในทารกและเด็กวัยหัดเดิน

เพราะผิวเด็กเป็นผิวที่บอบบาง การป้องกันผื่นผ้าอ้อมจึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่หลายๆ คนจำเป็นต้องรู้

อ่านเพิ่มเติม
รักษาและป้องกันให้ห่างไกลจากผื่นผ้าอ้อม

ผื่นผ้าอ้อม

อาการเมื่อลูกเป็นผื่นผ้าอ้อม คือ รอยแดง เป็นแผล บวมหรือมีจุดบริเวณก้น ต้นขาและอวัยวะเพศ หากรู้จักการรักษาและป้องกันจะช่วยให้ห่างไกลจากผื่นผ้าอ้อมมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม
Bepanthen Footer Logo

Footer Center

  • Home page
  • เข้าใจผิวคุณ
  • ผิวลูกน้อย
  • ครอบครัวบีแพนเธน
  • สาระน่ารู้สำหรับพ่อแม่

ลิขสิทธิ์©️ 2021 Bayer. ข้อความในเว็บไซต์นี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ในข้อความ รูปภาพ เสียง ซอฟแวร์ และอื่นๆในเว็บไซต์นี้ ห้ามมิให้ดัดแปลงหรือนำไปใช้งานอื่นๆ การนำไปใช้ไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม
จะต้องได้รับอนุญาติจากเจ้าของเว็บไซต์

เนื้อหาใช้เฉพาะเว็บไซต์นี้เท่านั้น
 

Footer Bottom

  • ติดต่อเรา
  • Sitemap
  • Bayer Global
  • นโยบายรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
  • เงื่อนไขการใช้งาน
  • Imprint
  • L.TH.MKT.05.2021.1948

For Healthcare Professionals Only

The information on this site is intended for healthcare professionals in the United States and is not intended for the general public.

I am a Healthcare Professional

I am not a Healthcare Professional